วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

E-Office

ความเป็นมาของระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Electronic Office)

ในช่วงระยะเวลาเพียง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่าพัฒนาการเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ และการสื่อสารที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นผลทำให้โลกพัฒนาเข้าสู่ยุคของข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันไม่ว่าจะอยู่ที่ส่วนใดของโลกก็สามารถติดต่อโทรศัพท์พูดคุยกันได้เสมือนนั่งอยู่เคียงข้างกัน พัฒนาการของการสื่อสารกำลังทำให้วิถีการทำงานบางอย่างของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป มีการใช้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทำได้อย่างรวดเร็ว

E-Office คืออะไร

E-Office ถูกเรียกในภาษาไทยหลายแบบ อาทิเช่น สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำนักงานอัตโนมัติ เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานในองค์กรมีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วมากขึ้น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้ระบบ E-Office สามารถจัดการเอกสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรในองค์กรและระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร การรักษาความปลอดภัย รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการทำงานให้กับบุคลากร โดยไม่จำเป็นต้องนั่งทำงานในสำนักงานเท่านั้น แต่สามารถทำงานที่บ้านหรือจากที่อื่นๆ

วัตถุประสงค์ของ E-Office

ผลการพัฒนาระบบตอบสนองวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ โดยจะตอบสนองวัตถุประสงค์ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ข้อ ที่3 คือ ประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการกระจายการบริการ ICT ที่มีคุณภาพ ครอบคลุมและเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและยุติธรรม ยืนได้ด้วยตนเองและความรู้ของคนในชาติ

ในที่นี้ก็หมายความว่า E-Office ก็คือการลดเวลาการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับงานเอกสาร การลดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารและการประหยัดงบประมาณทั้งในเรื่องบุคลากรและกระดาษ และที่สำคัญยิ่ง E-Office จะเป็นเส้นทางที่จะพัฒนาหน่วยงานให้เข้าสู่องค์กรภาครัฐสมัยใหม่ในยุคอิเล็กทรอนิกส์นี้

จุดประสงค์ของ E-Office

คือการนำเอาคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องต่อเชื่อมโยงให้มีการสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าหากันก็ด้วยเหตุผลที่ราคาของคอมพิวเตอร์ถูกลง และต้องการเพิ่มขีดความสามารถของระบบโดยรวม หรือที่เรียกว่าการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวก็ทำงานได้ในตัวเองอย่างหนึ่ง แต่เมื่อต่อรวมกันจะทำงานได้เพิ่มขึ้น มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้งาน มีความรวดเร็วเพิ่มขึ้น

เป้าหมายของ E-Office

เป้าหมายของการใช้ระบบ e-Office จะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับประชาชนผู้ใช้ จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้เอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น เริ่มเปลี่ยนตัวเองตั้งแต่วันนี้เรามีช่องทางหลายช่องทางในการสื่อสารอยู่แล้ว เช่น ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบค้นหาเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเมลล์ ระบบข่าวทาง Intranet เป็นต้น ลองเข้ามาใช้ดูก่อน ในอนาคตอันใกล้เราจะใช้ระบบ eOffice ร่วมกัน ถึงวันนั้นทุกคนจะได้ไม่รู้สึกว่าเราปรับตัวไม่ได้ หรือสิ่งนี้ทำไม่ได้ หรือเป็นของใหม่ยังไม่คุ้

“E-Office จะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายที่ชัดเจนของผู้บริหารและความพร้อมของประชาคมที่เป็นผู้ใช้

ข้อดี ของ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office)

1. ลดเวลาในการติดต่อสื่อสาร

2. เพิ่ม ขีดความสามารถของพนักงานในการซื้อบ้าน ที่อยู่ไกลจากตัวเมืองได้ เนื่องจากบ้านที่อยู่ในเมืองนั้นมีราคาแพง ซึ่งจะลดปัญหาเรื่องการเดินทาง

3. เพิ่มความสามารถของพนักงานในการสามารถควบคุมตนเองได้

4. อนุญาตให้พนักงานที่มีความสามารถ และรอบรู้สามารถปฏิบัติงานที่บ้านได้

5. บริษัทสามารถติดต่อกับตลาดและบริษัทต่างประเทศนอกเวลาทำงาน

6. เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่างๆภายในสำนักงาน

7. การใช้เครื่องจักรแทนการปฏิบัติงานของมนุษย์เป็นการออกแบบวิธีการปฏิบัติงานที่มนุษย์ทำอยู่ใหม่

ข้อเสีย ของ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office)

1. ลดการติดต่อแบบตัวต่อตัว (face-to-face) ระหว่างพนักงานในบริษัท

2. ทำให้ผู้บริหารรู้สึกว่าสูญเสียอำนาจการควบคุมลูกน้อง

3. การใช้ระบบอัตโนมัติในชีวิตประจำวันอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเมื่อระบบการควบคุมอัตโนมัติปฏิบัติงานผิดพลาด

4. มี การเปลี่ยนแปลง วิธีปฏิบัติงานอาจทำให้พนักงาน ไม่ยอมรับการ ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงาน และต้องการ การฝึกอบรมเพิ่มเติม

5. ผู้ บริหารต้องลงทุนสูง ซึ่งต้องวิเคราะห์ความคุ้มค่า เมื่อเทียบกับการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การปฏิบัติงาน ของพนักงาน

วิเคราะห์แผนการสอน

แผนการจัดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ป.1

แผนการจัดการเรียนรู้นี้ จัดทำโดยนางสคราญ วิเศษสมบัติ ข้าราชการครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ สาขาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนเมืองชุมพรบ้านเขาถล่ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1

วิเคราะห์สาระการเรียนรู้

แผนฯที่ 1 แหล่งข้อมูลใกล้ตัว
แผนฯที่ 2 ความหมายและประโยชน์ของข้อมูล
แผนฯที่ 3 การใช้เมาส์
แผนฯที่ 4 การใช้เมาส์
แผนฯที่ 5 ฝึกใช้ลูกศรสี่ทิศบนแป้นพิมพ์
แผนฯที่ 6 แนะนำส่วนประกอบภายนอกของคอมพิวเตอร์
แผนฯที่ 7 ใช้โปรแกรมวาดภาพ
แผนฯที่ 8 ใช้โปรแกรมวาดภาพ
แผนฯที่ 9 ใช้โปรแกรมวาดภาพ
แผนฯที่ 10ใช้โปรแกรมวาดภาพ
แผนฯที่ 11ใช้โปรแกรมวาดภาพ
แผนฯที่ 12สร้างชิ้นงานจากโปรแกรมวาดภาพ
แผนฯที่ 13การใช้โปรแกรมคอมฯช่วยสอน
แผนฯที่ 14 การใช้อินเทอร์เน็ตและมีจิตสำนึกในการใช้เทคโนโลยี

จากแผนการเรียนการสอนจะพบว่าเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอนนั้นไม่ยาก ซึ่งเป็นการสอนการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น การสอนส่วนใหญ่จะเป็นการอธิบายให้นักเรียนฟัง แล้วให้ลงมือปฏิบัติอาจมีการแสดงตัวอย่างหรือสาธิตวิธีการใช้แล้วให้ฝึกตาม

การแก้ปัญหาและพัฒนาประสิทธิภาพ
ความเข้าใจของเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งบางคนอาจะใช้เวลานานกว่าจะเข้าในในเนื้อหาเหล่านั้น ซึ่งครูเองจะต้องใส่ใจกับเด็กทุกคน โดยมีการสอนให้เข้าใจโดยละเอียดคอยสอดส่องดูแล การดูว่าเราสอนให้เด็กเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ หากเด็กยังทำไม่ได้ก็ให้สอนให้เข้าใจ ไม่ปล่อยปะะเลย หรืออาจจะมีการสอนพิเศษ

การจัดระบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การที่เด็กจะเข้าใจได้ดีในการเรียนนั้น ต้องให้เด็กได้แสดงความสามารถหรือร่วม ทำกิจกรรมในเรื่องนั้นๆขึ้นมา อย่างเช่น ให้เด็กใช้โปรแกรมวาดภาพดูจินตนาการของเด็กแต่ละคน ถ้าเด็กคนไหนไม่เข้าใจเครื่องมือเราอาจะแนะนำหรือสอนให้เข้าใจ ซึ่งเมื่อเด็กคนไหนทำได้ดีเราอาจจะมีคะแนนพิเศษ หรือของรางวัลให้เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจมากขึ้น

การออกแบบการสร้างการนำไปใช้ประเมินผลและประยุกต์ใช้นวัตกรรมให้เกิดประสิทธิภาพ
สำหรับตัวข้าพเจ้าการเขียนแผนการสอนนั้น จะเน้นการเรียนที่นักเรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด และเกิดความเข้าใจในการใช้คอมพิวเตอร์ และรู้จักเครื่องมือเบื้องต้นต่างๆ อาจจะฝึกให้เด็กเข้าใจเครื่องมือเน้น ให้เด็กทำงานบ่อยๆ เผื่อให้เกิดความคุ้นเคยของเครื่องมือ และการประเมินผลตามสภาพจริงและภาคปฏิบัติ การมีแบบฝึกหัด เพื่อติดตามประสิทธิภาพของครูผู้สอนเองและประเมินนักเรียน เพื่อที่จะปรับปรุงแก้ไขในการเรียนการสอนอีกต่อไป




วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน

นวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน


การนำ e-learning ไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน สามารถทำได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

1. สื่อเสริม (Supplementary)
หมายถึง การนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะสื่อเสริม กล่าวคือ นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-learningแล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันในนี้ในลักษณะอื่นๆเช่น จากเอกสารประกอบการสอน (Sheet) จากวีดิทัศน์ (Videotape) ฯลฯ การใช้ e-learning ในลักษณะนี้ เท่ากับว่า ผู้สอนเพียงต้องการจัดหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่งสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนเท่านั้น

2.
สื่อเติม (Complementary)
หมายถึง การนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่นๆ เช่น นอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-learning ในประเทศไทย หากสถาบันใดต้องการที่จะลงทุนในการนำ e-learning ไปใช้ในการเรียนการสอนตามปกติ (ที่ไม่ใช่ทางไกล) แล้วอย่างน้อยควรตั้งวัตถุประสงค์ ในลักษณะของสื่อเติม(Complementary) มากกว่า แค่เป็นสื่อเสริม (Supplementary) เช่น ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจาก e-learning เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนในประเทศไทย ซึ่งยังต้องการคำแนะนำจากครูผู้สอน รวมทั้งการที่ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดการปลูกฝังให้มีความใฝ่รู้โดยธรรมชาติ

3.
สื่อหลัก (Comprehensive Replacement)
หมายถึง การนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมด ออนไลน์ ในปัจจุบัน e-learning ส่วนใหญ่ในต่างประเทศจะได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสื่อหลักสำหรับแทนครูในการสอนทางไกล ด้วยแนวคิดที่ว่า มัลติมีเดียที่นำเสนอทาง e-learning สามารถช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาได้ใกล้เคียงกับการสอนจริงของครูผู้สอน

นวัตกรรมทางการศึกษาไทย

การนำ ICT เข้ามาเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมในการเรียนรู้ จำเป็นต้องอาศัยหลักการหลายอย่างประกอบกัน เช่น ทฤษฎีทางจิตวิทยา หลักการออกแบบสื่อ การบริหารจัดการข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้สอนและผู้เรียน เป็นต้น มีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้บกพร่องทางด้านการเรียนรู้ ทำให้ช่องว่างแห่งการเรียนรู้ลดลงบ้าง
ปัจจุบันนี้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้แพร่หลาย และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประชาชนจำนวนมากสามารถเข้าถึงได้ง่าย ดังนั้นการเรียนรู้ในโลกออนไลน์ หรือที่เรียกกันติดปาก ว่า E-learning ได้เป็นเริ่มมีการใช้มากขึ้น สถาบันการศึกษาทั้งในและนอกระบบได้ใช้ศักยภาพของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มที่ เริ่มมีการทดลองจัดหลักสูตรออนไลน์ โดยมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ทำให้ผู้สอนสามารถประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้ ซึ่งทำให้ครบวงจรของการจัดการเรียนการสอน คือ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมีการวัดและประเมินผล


"เทคโนโลยี" มีอยู่หลากหลายชนิด ซึ่งผู้สอนหรือผู้มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ต้องเลือกให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ตลอดจนการวิเคราะห์ผู้เรียนว่ามีความพร้อมหรือมีความสะดวกที่จะใช้เทคโนโลยีนั้นหรือไม่ หลักการสำคัญของการเรียนการสอนไม่ใช่การพยายามจะนำสิ่งที่ล้ำสมัยมาใช้เพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือ ทำอย่างไรผู้เรียนถึงจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะเป็นทักษะที่สำคัญเพื่อทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมีความสุข

ดังนั้นเราจึงสามารถนำเอา ICT มาช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ได้ดังนี้
1.
การจัดระบบการเรียน-การสอน โดยใช้ ICT สามารถลดข้อจำกัดในเรื่องระยะทาง ผู้เรียนสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ได้ทั่วโลกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2.
ในการใช้ ICT ช่วยลดข้อจำกัดเรื่องเวลา นักเรียนสามารถเรียนรู้เรื่องราวที่ตนสนใจได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีเวลาเปิด-ปิดโรงเรียนมาเป็นข้อจำกัด
3. ICT
ช่วยแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จาก E-books ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบมัลติมีเดีย หรือระบบ E-Learning ที่มีการจัดการเรียน-การสอนโดยจำลองแบบมาจากห้องเรียนจริง
4.
เมื่อมองในภาพรวม ICT ช่วยลดต้นทุนการจัดการศึกษา เมื่อมองในภาพรวม เพราะสามารถกระจายชุดการเรียน-การสอนไปยังผู้เรียนโดยผ่านเครือข่ายได้อย่างทั่วถึง

สำหรับทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่าการเรียนการสอนใช้ ICT อยู่ตลอดเวลาจะเห็นได้ง่ายๆเลย คือ
1.
การนำเสนองานของนิสิต นักศึกษาหรือการสอนของอาจารย์จะใช้ Power point ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ
2.
การสอนของอาจารย์โดยใช้สื่อ คือ การสร้างบทเรียนผ่านทางเว็บไซต์ แล้วให้นักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.
การส่งงานของนักศึกษาผ่านทางอินเทอร์เน็ต
การเรียนรู้โดยการนำ ICT มาใช้แบบนี้ช่วยในการพัฒนาศักภาพของผู้เรียน คือ
1.
ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือล้นที่อยากจะเรียนมากขึ้นเพราะใช้สี่อที่ทันสมัย
2.
ทำให้ผู้เรียนมีความกล้าที่จะแสดงคิดเห็น กล้าที่จะพูดมากยิ่งขึ้น
3.
ทำให้ผู้เรียนสามารถก้าวทันเทคโนโลยี

จุดเริ่มการศึกษาไทย

การจัดการศึกษาของประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเชื่อที่ว่าการศึกษาช่วยกำหนดทิศทางของชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ความเป็นมาของการศึกษาไทยมีประวัติที่น่าสนใจแบ่งออกได้ 5 ช่วง ดังนี้ (ประไพ เอกอุ่น. 2542 : 75)

1. การศึกษาของไทยสมัยโบราณ (พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 2411)

(1) การศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 1921)

(2) การศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)

(3) การศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2311 –

พ.ศ. 2411)

2. การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 - พ.ศ. 2474)

3. การศึกษาของไทยสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญระยะแรก (พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2491)

4. การศึกษาไทยสมัยพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2534)

5. การศึกษาสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. 2535 ปัจจุบัน)

การศึกษานั้นมีความสำคัญมากในการพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้า แต่การการศึกษานั้นเริ่มต้นที่ไหนไม่มีใครที่จะบอกได้ อย่างถูกต้องแต่อย่างไรก็ตามในความคิดของข้าพเจ้า การศึกษาน่าจะเริ่มต้น จากครอบครัวหรือบ้านของเรานั้นเองเพราะบ้านเป็นสถานที่แรกที่สอนให้เรารู้จัก เดิน พูด อะไรต่าง ๆ สอนให้รู้จักผิด และถูกซึ่งมี พ่อ แม่ และญาติ ๆ เป็นครูที่ช่วยอบรมสั่งสอน ให้เราเป็นคนดี ก่อนที่จะส่งบุตรหลายไปเรียนที่โรงเรียนต่อไป